หัวข้อ |
 |
ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนในฝัน จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ผู้วิจัย |
 |
บุญเกิด ฟุ้งสวัสดิ์ |
สถาบัน/หน่วยงาน |
 |
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ |
สาขา |
 |
การบริหารการศึกษา |
ที่ปรึกษา |
 |
ดร.สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ |
|
|
นายจำนงค์ มิ่งฉาย |
|
|
ผศ.ประทีป อนุเมธางกูร |
คำสำคัญ |
 |
โรงเรียนในฝัน, ผู้บริหารสถานศึกษา |
ปี |
 |
2550 |
จำนวนหน้า |
 |
127 หน้า |
เลขเรียกหนังสือ(ดิวอี้) |
 |
Th 371.2 บ394ค |
สถานที่จัดเก็บ |
 |
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ |
บทคัดย่อ |
 |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนในฝัน จังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนในฝัน จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มสาระโรงเรียนในฝันจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 106 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทราที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนในฝัน จังหวัดฉะเชิงเทรา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการระดมสรรพกำลังสร้างภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ที่เข้มแข็งอยู่ในระดับปานกลาง
ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนในฝัน จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ พบว่า มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของโรงเรียนในฝัน จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกับผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ และขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้านตามกลยุทธ์หลัก พบว่า ทุกกลยุทธ์หลัก ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนในฝันจังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามวิทยฐานะของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานโรงเรียนในฝันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของโรงเรียนในฝัน จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างจากผู้บริหารสถานศึกษาวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และชำนาญการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของโรงเรียนในฝัน จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างจากผู้บริหารสถานศึกษาวิทยฐานะชำนาญการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้านตามกลยุทธ์หลัก พบว่า ทุกกลยุทธ์หลัก ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
|
|
|
|
Fulltext |
|
|