หัวข้อ |
 |
ความสัมพันธ์ระหว่างระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานกับการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสมุทรปราการ |
ผู้วิจัย |
 |
จันทนา แห่งตระกูล |
สถาบัน/หน่วยงาน |
 |
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ |
สาขา |
 |
การบริหารการศึกษา |
ที่ปรึกษา |
 |
ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก |
|
|
ดร.สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ |
|
|
อ.ธวัช อู่วิเชียร |
คำสำคัญ |
 |
การพัฒนา , ตัวชี้วัดเชิงดุลยภาพ |
ปี |
 |
2549 |
จำนวนหน้า |
 |
193 หน้า |
เลขเรียกหนังสือ(ดิวอี้) |
 |
Th 371.2 จ246ค |
สถานที่จัดเก็บ |
 |
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ |
บทคัดย่อ |
 |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างตัวชี้วัดผลงานหลักเชิงดุลยภาพ ในการวัดผลปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการระบบชุมสายที่ 2 ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ เพื่อประเมินความเหมาะสมของตัวชี้วัดผลงานหลักตามความคิดเห็นของพนักงานของศูนย์ปฏิบัติการระบบชุมสายที่ 2 ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ทั้งหมดเป็นพนักงานของศูนย์ปฏิบัติการระบบชุมสายที่ 2 ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 66 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตัวชี้วัดผลงานหลักเชิงดุลยภาพ เป็นตัวชี้วัดที่นำมาใช้ในการประเมินความสำเร็จ
ของผลการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ปฏิบัติการระบบชุมสายที่ 2 อันสืบเนื่องมาจากการวางแผนกลยุทธ์ โดยได้กำหนดมุมมองของตัวชี้วัดเชิงดุลยภาพไว้ 4 มุมมอง คือ มุมมองทางการเงิน มุมมอง
ทางลูกค้า มุมมองทางกระบวนการภายใน มุมมองทางการเรียนรู้และพัฒนา
ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย รายการตัวชี้วัดหลักเชิงดุลยภาพ ทั้ง 4 มุมมอง มุมมองทางการเงินได้ตัวชี้วัดหลัก จำนวน 10 ตัวชี้วัด มุมมองทางลูกค้าได้ตัวชี้วัดหลัก จำนวน
9 ตัวชี้วัด มุมมองทางกระบวนการภายในได้ตัวชี้วัดหลัก จำนวน 8 ตัวชี้วัด มุมมองทางการเรียนรู้และพัฒนาได้ตัวชี้วัดหลัก จำนวน 6 ตัวชี้วัด
|
|
|
|
Fulltext |
|
|