หัวข้อ |
 |
การจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตสุขภาพที่ 6 |
ผู้วิจัย |
 |
เสาวลักษณ์ ท้วมเจริญ |
สถาบัน/หน่วยงาน |
 |
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ |
สาขา |
 |
การจัดการสุขภาพ |
ที่ปรึกษา |
 |
รองศาสตราจารย์ ดร.นิรัตน์ อิมามี |
|
|
รองศาสตราจารย์ ดร.กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ |
|
|
- |
คำสำคัญ |
 |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อม จุดแข็ง จุดอ่อน |
ปี |
 |
2561 |
จำนวนหน้า |
 |
88 หน้า |
เลขเรียกหนังสือ(ดิวอี้) |
 |
Th. 362.11 ส945ก |
สถานที่จัดเก็บ |
 |
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ |
บทคัดย่อ |
 |
การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในปีงบประมาณ 2559 และเพื่อศึกษาจุดแข็งและจุดอ่อนของการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลต่อการคงไว้ซึ่งมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงพยาบาลภาครัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 6 ที่ขอรับการประเมินรับรองตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (health promoting hospital national quality criteria: HPHNQC) ของกรมอนามัย ที่มีอายุการรับรองครบ 3 ปี ในปี 2559 จำนวน 15 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 14 แห่ง และเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล จำนวน 15 คน รวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่สำรวจโรงพยาบาลทั้ง 15 แห่งระหว่างเดือนมกราคม 2559–กันยายน 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินตนเองของโรงพยาบาล (hospital profile) และแบบสัมภาษณ์การจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ฐานนิยม และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง มีอัตราการครองเตียง ร้อยละ 46.7 ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมมีการนำองค์กรและการบริหารทรัพยากรที่สอดคล้องกับมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ โดยมีความชัดเจนในด้านแผนงาน โครงการ นโยบาย ที่มุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ แต่ยังไม่ชัดเจนในด้าน วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ แหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการทำงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโดยมีจุดแข็ง ในด้านระบบการจัดการมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยอันตราย การจัดให้โรงพยาบาลเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่และพื้นที่ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรฐานความปลอดภัยภายในและภายนอกอาคาร การประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน มีความปลอดภัยในการทำงาน มีสถานที่ออกกำลังกาย มีอาหารเพื่อสุขภาพจำหน่าย มีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ สนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับได้พัฒนาความรู้และทักษะด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน และมีจุดอ่อนที่ไม่ผ่านการรับรอง ได้แก่ มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS) ระบบการจัดการน้ำเสีย ระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร มาตรฐาน ISO 14000 โครงการสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อนด้วยการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (green & clean hospital) สถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน (healthy workplace) และบรรยากาศการทำงานด้านการต้อนรับและบริการที่เป็นมิตร จึงควรเน้นกลไกการบริหารจัดการด้านวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ในการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนของโรงพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
|
|
|
|
Fulltext |
|
|